ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV | Sanitize PPE (personal protection equipment) 
การฆ่าเชื้อโรค  ทางการแพทย์สามารถใช้ได้หลายอย่าง ขึนอยู่กับชนิดของเชื้อโรค  อุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อ  ปริมาณวัสดุที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค  และ ที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย  ซึ่งต้องนำมาประยุกต์ใช้ตามเหตุการณ์และความเหมาะสม  แต่สิ่งอื่นใด  ทางการแพทย์จะมองที่ประสิทธิภาพเป็นหลักมาก่อน   ต่อให้วิธีการอื่นที่มีราคาถูกกว่าแต่ถ้าประสิทธิภาพที่ออกมา  ไม่สามารถตอบโจทย์ได้  ทางการแพทย์จะไม่ยอมรับวิธการนั้น  ซึ่งหนึ่งในวิธีที่การแพทย์นำมาใช้ก็คือรังสี UV หรือ รังสีอุลตราไวโอเลต

ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV

ถ้าถามว่าช่วงคลื่นแม่เหล็กที่เรารู้จักกันดี  ก็จะมีเป็นช่วงคลื่นช่วงแสงที่เรามองเห็น (visible spectrum) ซึ่งเป็นช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ หรือพูดง่ายๆคือแสงสีขาว  ซึ่งที่เรารู้จักกันดี แสงแดดนั่นเอง  สังเกตได้ว่าในช่วงสเปกตรัมที่เราเห็นด้านที่มีความยาวคลื่นสั้นด้านซ้ายมือจะเป็นสีม่วง ส่วนด้านที่มีความยาวคลื่นยาวขวามือจะเป็นสีแดง

ทีนี้ UV หรือ Ultraviolet คือช่วงแสงที่อยู่เหนือช่วงคลื่นสีม่วงที่เรามองเห็นไปทางด้านซ้าย (ทำให้ภาษาไทยเรียกว่าช่วงเหนือม่วง) ส่วน Infrared คือช่วงแสงที่อยู่ใต้ช่วงคลื่นสีแดงที่เรามองเห็นไปทางขวา 

จริงๆแล้ว UV ทั้งหมดจะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรามองไม่เห็น อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 100–400 นาโนเมตร แต่ละช่วงย่อยก็มีพลังงานและความสามารถในการทะลุทะลวงต่างกัน เลยมีการแบ่ง UV ออกเป็น 3 ช่วงย่อยได้แก่

  • UVA (Long Wavelength) อยู่ในช่วง 320–400 nm เป็นช่วง UV ที่สามารถทะลุทะลวงได้สูงสามารถทะลุไปถึงผิวชั้นในได้ และไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างเม็ดสีใต้ผิวหนังทำให้ผิวเป็นคล้ำขึ้นเป็นสีแทน
  • UVB (Medium Wavelength) อยู่ในช่วง 280–320 nm เป็นช่วง UV ที่สามารถทำให้ผิวชั้นนอกไหม้ได้
  • UVC (Short Wavelength) อยู่ในช่วง 200–280 nm เป็นช่วงที่มีพลังงานสูงสุดใน UV มีอันตรายต่อเซลล์สิ่งมีชีวิต  แต่มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำมาก

ช่วงคลื่นของแสง UVC มีอนุภาคโฟตอนที่ความถี่อยู่ในช่วงที่สามารถทำให้เซลสิ่งมีชีวิตเสียหายในระดับ DNA ได้ดังนั้นเลยทำให้พวกไวรัส แบคทีเรีย ที่มีขนาดเล็กๆนั้นเสื่อมสภาพ  ดังในภาพ

ช่วงคลื่นของแสง UVC

นอกจากความยาวคลื่นแล้ว  ปริมาณการการปล่อยรังสี UV ที่ออกมาและเวลาที่ใช้  ต้องมีความสันพันธ์หรือมากพอ ที่จะสามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อได้ 

               อย่างที่ทราบกัน  ทุกอย่างจะมี 2 ด้านเสมอ  ในเมื่อรังสี UV-C  สามารถฆ่าเชื้อโรค ต่างๆ ได้  มันก็สามารถทำลายเซลร่างกายได้เช่นเดียวกัน  เช่น ผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบได้  หรือ ถ้าได้รับมากที่ปริมาณดวงตา ก็จะเกิดการอักเสบ นำไปสู่การเป็นต้อกระจกได้   อีกอย่างที่อาจจะไม่ทราบกัน  เนื่องจากมีการแตกตัวของอนุภาค  ก็จะทำให้ O2 ในการอากาศบริเวณนั้น  กลายเป็น O3  ซึ่งเป็นพิษกับร่างกายได้   จึงไม่ควรให้มีการสัมผัสโดยตรงกับร่างกาย  และควรอยู่ในพื้นที่จำกัด  เพื่อให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ผลสูงสุด  และไม่ส่งผลเสียกับผู้นำไปใช้

               ดังนั้น  การใช้นำแสง UV-C มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคนั้น  ต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ที่นำใช้ จะต้องมีความมั่นใจเรื่องของคุณภาพ ว่าได้รับการรับรองในประสิทธิภาพในการใช้งาน และ ความปลอดภัย  ตลอดจนวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง

               เนื่องจาก ภาวะโลกเรามีความเป็นพิษมากขึ้น  เชื้อโรคมีการพัฒนาและดื้อต่อการรักษา  สิ่งเดียวที่เราจะทำได้ นั่นคือการป้องกัน  ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคร้ายแรง ต่างๆ เข้ามาสู่เราได้ หรือ ให้น้อยที่สุดเพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิขึ้นมา  หรือ ให้อาการของโรคไม่รุนแรงไป  โดยเฉพาะเชื้อโรคไวรัส covid-19 สามารถอยุ่ในอากาศ และ พื้นผิวข้างนอกได้นาน เป็นเวลาหลายชั่วโมง  ซึ่งทาง who หรือ สถาบันทางการแพทย์ต่างๆ คิดว่า โรคไวรัส covid -19 จะเป็นโรคระบาดอีกชนิดหนึ่ง ที่จะต้องอยู่กับเราไปอีกนาน   แต่เราสามารถป้องกันได้โดยการ ใช้mask เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากทางเดินหายใจ ลดการสัมผัส หรือ Social distancing  และ ใช้การล้างมือบ่อยๆ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงได้ 

               แม้ว่าเราพยายามจะล้างมือด้วยสบู่  หรือทำความสะอาดสิ่งของต่างๆ ด้วยแอลกอฮอล์ แต่จะมีสิ่งของที่ติดตัวเราอีกมากมายที่เราได้นำออกไปทำธุระภายนอก แล้วเราไม่ได้ทำความสะอาด  เช่น แว่นตา  :  กุญแจรถ  : มือถือ :  แหวน :  นาฬิกา : หูฟังมือถือ : i pod : บัตรเครดิต : ธนบัตร:ปากกา :ดินสอ: นามบัตร   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้คนส่วนใหญ่จะลืม  แต่เป็นสิ่งที่นำออกไปติดตัวด้วยเสมอ และ นำมาออกมาใช้  เมื่อออกไปทำธุระ และมักจะวางไว้ตามโต๊ะ  ข้างนอก  หรือ  นำออกมาที่สาธารณะ  บนรถไฟฟ้า บนรถประจำทาง   ในร้านอาหาร   หรือ ทางเดิน  ซึ่งมีโอกาสได้รับเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็น  โดยเฉพาะถ้าช่วงมีการระบาดโรคทีร้ายแรง  ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ เราไม่สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ  ทำความสะอาดได้  เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้  จึงได้เกิดนวัตกรรม คิดค้นนำแสง UV-C  มาใส่ในภาชนะปิดขนาดเล็ก  ที่สามารถพกพาได้สะดวก  เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อในสิ่งของเครื่องใช้ประจำตัว ซึ่งเรียกว่า sanitize PPE ( personal protection equipment )  และจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อไปในอนาคต  สำหรับการใช้ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ  ที่สำคัญอุปกรณ์ นี้ ยังสามารถใช้กับสิ่งของเครื่องใช้ของเด็กได้ดีอีกด้วย  เนื่องจากไม่เกิดการตกค้างเหมือนสารเคมี  ที่อาจมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ  และ  ผิวหนังได้

ดังนั้นก่อนที่เราจะเลือกใช้ sanitize PPE หรือ Sterile box นั้น  เราควรคำนึงถึงความคุ้มค่า และความปลอดภัย  ดังนี้ 

  • ประสิทธิภาพในการทำงาน   : ความยาวคลื่น อยู่ในช่วง  200-280 nm. และ คุณภาพของหลอดไฟ  ซึ่งอาจจะดูได้จากอายุการใช้งานได้นานกี่ชั่วโมง
  •  ตำแหน่งการวางหลอดไฟ  ไม่ควรวางหลอดไฟในจุดที่มีโอกาสมองเห็นได้ง่าย เช่น ที่ฝากล่องด้านใน
  • โครงสร้างของกล่องที่ใช้ ต้องป้องกันไม่ให้แสง UV-C  เล็ดลอดอออกมาภายนอกได้  และไม่ควรมองเห็นแสงได้ด้วยตาเปล่า
  • ได้รับการผ่านการทดลอง UV- C  Sterilizer test  จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

               นอกจากข้อที่ควรคำนึงถึงเหล่านี้แล้ว การใช้รังสี UV-C  เป็นการทำฆ่าเชื้อ โดยการไปทำลายโครงสร้างระดับเซล ของ DND หรือ RNA  ถ้าเปรียบเหมือน การเอาไฟฉายส่องเข้าไปในวัตถุ  แล้วเกิดความสว่าง โดยที่ไม่ได้ทำให้วัตถุนั่น เปลี่ยนรูปร่างภายนอก  จึงแตกต่างจากการทำความสะอาดด้วยวิธีการทั่วไป เช่น การใช้สารเคมี  หรือ  ความร้อน  เพราะสารเคมี จะมีกลิ่นของน้ำยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ  ( ซึ่งต้องระวังการตกค้าง )  ส่วน การใช้ความร้อน อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนของรูปร่าง  หรือ  ถ้าใช้ความร้อนด้วยไอน้ำ  ก็จะไม่เหมาะกับสิ่งของที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งการใช้วิธีการทั่วไปนี้ ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความสะอาด   แต่การนำ UV-C มาใช้นี้เป็นการทำลายเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็น  ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ   ไม่ได้เป็นการทำความสะอาดวัสดุภายสิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาฆ่าเชื้อโรค   ดังนั้น ความสะอาดของสิ่งของเครื่องใช้ ก็ยังมีความจำเป็น ในกรณีที่ยังทำได้